อุตสาหกรรม 4.0 คืออะไร ?
อุตสาหกรรม 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “Industrial 4.0″ เริ่มเป็นแนวคิดทางรัฐบาลของประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ.2013 (พ.ศ. 2556) ประกาศที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตเพื่อยกระดับเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขึ้น โดยระบุไว้ว่า อุตสาหกรรมของเยอรมนีนั้นจะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมระบบอัจฉริยะและเข้าสู่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.2033 (พ.ศ. 2576) นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นๆนอกจากประเทศเยอรมนีประกาศในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา เรียกว่า Smart Manufacturing ยุโรป เรียกว่า Factories of the Future (FoF) ส่วนประเทศไทยนั้นเรียกว่า Thailand 4.0 นั่นเอง
ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาอุตสหกรรม 4.0 นั้น ต้องมารู้และทำความเข้าใจก่อนว่าอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ลักษณะของอุตสาหกรรมพัฒนาไปอย่างไร ซึ่งมีเหตุการณ์ปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้
ประวัติของอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัย
ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาอุตสหกรรม 4.0 นั้น ต้องมารู้และทำความเข้าใจก่อนว่าอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ลักษณะของอุตสาหกรรมพัฒนาไปอย่างไร ซึ่งมีเหตุการณ์ปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้

1. ยุคก่อนอุตสาหกรรม 1.0 หรือที่เรียกกันว่า ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก สังคมส่วนใหญ่นั้นเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังไม่มีการใช้เครื่องจักรกลหรือโรงงานใดๆ ใช้แรงงานสัตว์เพื่อทุ่นแรงในการทำอาชีพไม่ว่าจะเป็น ม้า วัว รวมไปถึงช้าง แล้วทำการจำหน่ายค้าขายผลผลิตที่ได้ตามแต่ละพื้นที่สมัยนั้น

2. ยุคอุตสาหกรรม 1.0 หรือที่เรียกกันว่า “Mechanical Production” ในปี ค.ศ.1712 ได้เกิดเครื่องจักรกลไอน้ำเป็นครั้งแรกที่สามารถใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรมโดยฝีมือของโทมัส นิวโคแมน (Thomas Newcoman) จากนั้นเจมส์ วัตต์ (James Watt)ได้นำมาพัฒนาต่อจนนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆในปี ค.ส.1784 (เป็นปีที่เริ่มนับอุตสาหกรรม 1.0) ทำให้เกิดเครื่องจักรต่างๆมามากมายเพื่อทดแทนแรงงานสัตว์ เกิดโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า เป็นจุดเด่นของยุคนี้เลยก็ว่าได้ มีการพัฒนาคมนาคมการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟหัวจักรไอน้ำและเรือกลไฟ สังคมในยุคนี้จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรม ช่างฝีมือเข้าสู่โรงงานเพิ่มมากขึ้น

3. ยุคอุตสาหกรรม 2.0 หรือที่เรียกกันว่า “Mass Production” เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1870 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างมหาศาล เนื่องจากมีการคิดค้นพัฒนาเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาแล้วนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำให้มีการผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นแบบไม่เคยมีมาก่อน แถมมีคุณภาพที่เท่าเที่ยมกับงานหัตถกรรม ที่สำคัญคือราคาของสินค้านั้นเป็นผลพลอยได้จากที่ต้นทุนที่ใช้ผลิตสินค้าลดลงนั่นเอง

4. ยุคอุตสาหกรรม 3.0 หรือที่เรียกกันว่า “Automation” เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) นำมาปรับปรุงในกระบวนการผลิตต่างๆ มีการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมเป็นแบบไลน์ผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกลระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต ทำให้สินค้าที่ผลิตได้นั้นมีคุณภาพที่เที่ยงตรง ละเอียด แม่นยำ และมีความรวดเร็วยิ่งกว่ายุคของ 2.0 บางส่วนเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ทำให้ค่าใช้จ่ายของต้นทุนในระยะยาวถูกกว่าเดิมอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ โรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น

5. ยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “Cyber-Physical Production” เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2011 เป็นยุคที่จะรวมโลกของไซเบอร์กับโลกความเป็นจริงเข้ารวมด้วยกัน เมื่อมีระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น จนมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาร่วมกับเครื่องจักรกลระบบออโตเมชั่น จะทำงานในรูปแบบของอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) มีการเก็บข้อมูลการผลิตแต่ละภาคส่วนเชื่อมต่อผ่านคลาวด์ (Cloud) ทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระยะไกลระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักรและเครื่องจักรกับมนุษย์ได้ สามารถแสดงผลข้อมูลการผลิตตั้งแต่ต้นยันจบได้ จากนั้นจะบูรณาการข้อมูลแต่ละเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิตทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างดี ในยุคนี้ที่โดดเด่นที่สุดคือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และยังมีอีกหลายเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกิดขึ้นในยุคนี้อีกด้วย
ผลกระทบ
ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลให้ธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตให้มีความทันสมัย รวดเร็ว หยืดหยุ่น ลดการใช้แรงงานมนุษย์ ลดจำนวนสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานเกิดจากการผลิต เพิ่มจำนวนการผลิตสินค้า รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลทุกภาคส่วนเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากความเร็วในการเติบโตและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตที่รวดเร็ว
ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการปรับตัวของมนุษย์หลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ไปพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ต้องเตรียมพร้อมทั้งความรู้ ทัศนคติ รวมถึงทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
ดังนั้นอุตสาหกรรม 4.0 ยังคงเป็นแนวโน้มที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยจะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้ให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ลดต้นทุนในการผลิตสินค้า การพัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องจักรกับโลกดิจิทัล และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการกระบวนการผลิตจะเป็นจุดประสงค์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต