แนวทางการรับมืออุตสาหกรรม 4.0

          การพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การใช้แรงงานของมนุษย์เพียงอย่างเดียวกลายเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรแบบระบบอัตโนมัติ ซึ่งประเทศไทยในช่วงยุคปี ค.ศ.2024 (พ.ศ.2567) กำลังที่จะเริ่มการปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด ทางผู้ประกอบการธุรกิจควรที่จะเตรียมพร้อมทางด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน มีแนวทางสำคัญในการเตรียมตัวรับมืออุตสาหกรรม 4.0 มีดังนี้

          1. เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งในสมัยยุคนี้การเรียนรู้ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรที่จะต้องเรียนรู้จากแหล่งภายนอกบ้างเพื่อเปิดรับความรู้และประสบการณ์ที่แปลกใหม่ มีการเติมเต็มความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้ภูมิฐานทางความรู้และทักษะมีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเดินต่อได้อย่างราบรื่น

          2. การจัดฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี ในส่วนนี้ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดหาการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถรับรู้พร้อมกับทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) เทคโนโลยีเกี่ยวกับ IoT (Internet of Things) รวมไปถึงการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud แล้วสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          3. การลงทุนในเทคโนโลยีอัตโนมัติ การลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงนั้นเป็นที่สิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่างๆ การนำเครื่องจักรระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบการผลิตอัจฉริยะมาปรับใช้งาน สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายทางต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางตลาดได้ อีกทั้งยังมีผลดีในระยะยาวอีกด้วย

          4. การส่งเสริมด้านงานวิจัยและพัฒนา (R&D) การลงทุนในงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นมีส่วนที่จะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในกลุ่มตลาดได้ ทางผู้ประกอบการธุรกิจเองควรยอมลงทุนในส่วนของการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงแล้วสามารถนำมาปรับใช้ภายในองค์กรได้ เพื่อยกระดับองค์กรให้เข้าใกล้สู่อุตสาหกรรม 4.0

          5. พัฒนาทักษะทางด้านภาษา แม้ว่าอุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง อีกปัจจัยนึงที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นภาษาทางสากลที่ใช้ได้แทบทั่วโลก นอกจากใช้ในการติดต่อสื่อสารกันแล้วอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆรวมไปถึงเครื่องจักรก็ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินการใช้งานต่างๆเช่นกัน และอีกภาษานึงก็มีความสำคัญเช่นกันคือ ภาษาจีน ด้วยความรวดเร็วในการพัฒนาทางเทคโนโลยีของจีนเองอาจส่งผลให้ได้ทำธุรกิจร่วมกันในอนาคตอีกด้วย

          6. พัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล ทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนล้วนต้องมี ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ หรือการเข้าใจเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะในอนาคตเครื่องมือหรือการติดต่อสื่อสารกันจะผ่านระบบดิจิทัล ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน ดังนั้นการส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรมด้านดิจิทัลจะช่วยให้สามารถปรับตัวและนำมาใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

          7. การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตนั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรต้องวางแผนและมีวิธีในการป้องกันและจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ให้น้อยที่สุดเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  เช่น การใช้รหัสผ่านหรือการแสกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันในการเข้าใช้งานทางไซเบอร์  การยืนยันตัวตนแบบสองชั้น รวมไปถึงการออกแบบซอฟท์แวร์ในการตรวจจับการเข้าถึงที่ผิดปกติ เป็นต้น

          8. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความเตรียมพร้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นนั้นจะช่วยให้การปรับตัวของพนักงานสามารถเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอีกด้วย

          9. การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การสร้างพันธมิตรกับองค์กรอื่น ๆ นั้นจะช่วยให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น ทำให้มีช่องทางในการหาความรู้ หาทักษะต่างๆได้อย่างหลากหลาย รวมถึงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

สรุป

          การพัฒนาตนเองในยุคดิจิทัลต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลาและจัดอบรมให้บุคลากร เช่น AI, IoT และ Cloud การลงทุนในเทคโนโลยีอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน สนับสนุนงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างๆที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ให้มีความปลอดภัย การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจช่วยเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น